top of page

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 
 

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีก 14 ประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ คนไทยเราถือว่ามีทักษะทางการเงินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอีก 14 ประเทศ โดยได้คะแนนเพียง 58.5% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของ 14 ประเทศอยู่ที่ 62.3%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ซึ่งจุดนี้ทำให้ได้รู้ว่าการสอนเรื่องการเงินภายในครอบครัว หรือภายในสังคมนั้นค่อนข้างที่จะถูกละเลยและไม่ว่าจะเป็นผลสำรวจของค่ายหรือสำนักไหนก็ตาม ก็ค่อนข้างไปในโทนเดียวกันว่า คนไทยยังมีความเสี่ยงในชีวิตเพราะ ขาดแคลนเงินออม ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเงินและในเวลาเดียวกัน ยังถูกรุมเร้าด้วยปัญหา "หนี้สินพะรุงพะรัง" ใช้ชีวิตอย่างขาดการวางแผนการเงิน และไม่มีการเตรียมพร้อมทางด้านการเงินที่ดีพอ จากการสำรวจของ บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย  ประจำปี 2550 ได้แจ้งว่า 83% ของคนไทยไม่มีการออมเงินเป็นประจำ , 57% ของคนไทยไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณ, 84% ของคนไทยยังไม่มีการซื้อกรมธรรม์คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณที่มากพอคนไทยโดยเฉลี่ยเริ่มคิดและวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณเมื่ออายุ 44 ปี ซึ่งช้ากว่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่มักจะวางแผนเมื่ออายุ 39 ปี  ซึ่งภาพรวมและตัวเลขเหล่านี้ คงพอจะบอกได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยทางการเงิน ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวที่แม้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ดูเหมือนกำลังระบาดอย่างหนัก

ทุกวันนี้แค่เป็นบุคคลปลอดหนี้ และมีเงินออมติดกระเป๋า ก็ถือว่าชาตินี้คุณเกิดมาโชคดีมีบุญแล้ว เพราะลองมองไปให้รอบด้านก็จะพบว่า คุณถูกรายล้อมไว้ด้วยคนมีหนี้สิน ไม่มีเงินออม และใช้ชีวิตอย่างขาดการวางแผนทางการเงิน

 

 

เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา คณะครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ

ประเด็นการศึกษา ปัญหา: ข้ามวัฒนธรรม ไร้พรหมแดน เครือข่ายต่อเนื่อง 

โครงการ เรื่อง ชนะปัญหาทางการเงิน เพิ่มคุณค่าให้ชีวิต

bottom of page